ตัววิ่ง

เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร Information and Communication Technology

วันอาทิตย์ที่ 9 กันยายน พ.ศ. 2555

samsung galaxy s3

เมื่อวันพฤหัสที่ผ่านมาทางซัมซุงเพิ่งเปิดตัว Galaxy S III อย่างเป็นทางการในประเทศไทย





เรื่องภายนอกคงหาจับกันได้ไม่ยากแล้วในช่วงที่เปิดการขายไปแล้ว แต่ถ้าใครยังไม่จับ ความรู้สึกแรกที่ผมรู้สึก คือ เครื่องมันเบากว่าที่คิด แม้ว่าจริงน้ำหนักจริงๆ จะไม่ได้เบามาก แต่ตัวเครื่องที่มีขนาดใหญ่ ทำให้รู้สึกเบาไปได้เอง
ตัวผมเองไม่มีความเห็นด้านวัสดุเครื่องอะไรนัก จากนิสัยการใช้งานที่ไม่เคยใส่กรอบมือถือและไม่สนใจรอยขีดข่วนนัก เข้าใจว่าวัสดุของเครื่องนั้นเน้นเรื่องของน้ำหนักและความบาง ภายใต้เงื่อนไขว่าแบตเตอรี่ต้องใหญ่ขึ้นเป็น 2100mAh และหน้าจอต้องเป็น 4.8 นิ้วเพื่อเป็นจุดขาย แต่คนรอบๆ ตัวผมที่ได้จับเครื่องก็บ่นกันเรื่อยๆ ว่าไม่ชอบตัวกรอบและฝาหลังที่เป็นพลาสติกบางๆ แบบนี้ ส่วนตัวผมเองคิดแค่ว่าเปิดฝาหลังง่ายๆ แบบนี้ดีแล้ว
ในบรรดา "นวัตกรรมทางซอฟต์แวร์" ทั้งหมดที่ซัมซุงโฆษณามานั้น ผมประทับใจกับ Smart Stay เป็นหลักจากนิสัยอ่านหนังสือบนโทรศัพท์ของผมเองและเจอปัญหาหน้าจอดับระหว่างอ่านข้อความยาวๆ เสมอๆ ก่อนหน้านี้ทางแก้ปัญหาคือการเปลี่ยนระยะเวลาปิดจออัตโนมัติให้นานขึ้นซึ่งจะเปลืองแบตเตอรี่ในระยะยาว Smart Stay นั้นจะเปิดกล้องหน้ามาหาใบหน้าเราเมื่อหมดเวลาปิดจออัตโนมัติ หากพบใบหน้าเรามองเครื่องอยู่ก็จะหรี่จอก่อน ครบช่วงเวลาอีกทีแล้วยังไม่เจอใบหน้าเราอีกจึงปิดจอลงไป เทคโนโลยีแบบนี้ดูเรียบง่ายและใช้ประโยชน์ได้จริงสำหรับตัวผมเอง ฟีเจอร์นี้ถูกเข้าใจผิดบ่อยมาก ว่าเป็นการควบคุมเครื่องด้วยสายตา อันนี้อาจจะเป็นการบ้านให้ซัมซุงต้องประชาสัมพันธ์ดีๆ
ความพยายามที่จะออกแบบให้ S III ทำงานเข้ากับธีม "Design for humans" ให้มาก ทำให้รอบนี้ซัมซุงเน้นฟีเจอร์ในส่วน gesture และการสั่งงานด้วยเสียงมาก เช่น การบันทึกภาพหน้าจอนั้นอาศัยการ "ลูบ" หน้าจอจากซ้ายไปขวา ซึ่งเป็นส่วนที่ผมไม่ชอบนัก เพราะเอาเข้าจริงแล้วหลายครั้งมันเป็นการ swipe หน้าจอไป
ฟีเจอร์ที่เห็นบ่อยในโฆษณาและคิดว่าน่าผิดหวังคือ S Voice ที่สั่งได้ยากและดูเหมือนแอปเปิลมากเกินไปทั้งที่ความสำเร็จของ S II น่าจะสร้างความมั่นใจได้ว่าซัมซุงเองก็มีแนวทางของตัวเองได้แล้ว จากการทดสอบแบบไม่เป็นวิทยาศาสตร์นัก ผมเชื่อว่าระบบวิเคราะห์เสียงภายในเป็นของซัมซุงเอง เพราะการพิมพ์ด้วยเสียงที่เป็นฟีเจอร์มาตรฐานนั้นมีความแม่นยำกว่าค่อนข้างมาก แม้แต่สำเนียงแย่ๆ ของผมเองก็ยังจับได้ค่อนข้างมาก
Social Tag ดูจะเป็นจุดขายที่ดี การย้ายความสามารถในการแท็กรูปมาอยู่ในตัวโทรศัพท์เองทำให้การจัดการรูปรายคนเป็นเรื่องเป็นไปได้ ฟีเจอร์นี้น่าจะได้คำชมจากผมมากหากมันจะสามารถใช้แท็กที่เราจัดไว้แล้วในโทรศัพท์ไปใช้ตอนอัพภาพขึ้นเฟชบุ๊กโดยไม่ต้องแท็กอีกรอบ การแท็กรูปคนเดียวกันสองสามรอบคงไม่ใช่เรื่องน่าสนุกนัก
อีกอย่างหนึ่งที่น่าสนใจแต่ไม่ได้ลองนั่นคือ S Beam ที่ซัมซุงเอา Android Beam มาปรับปรุงให้ส่งข้อมูลผ่าน Wi-Fi แทนผ่านช่องทาง NFC ที่ความเร็วต่ำกว่า แนวคิดนี้น่าสนใจและน่าจะเป็นตัวอย่างการใช้งาน NFC จริงๆ ปัญหาคือเครื่องที่มี NFC ในตลาดก็น้อยอยู่แล้ว ยังมีคำถามว่าเทคโนโลยีนี้จะปิดอยู่เฉพาะซัมซุงเท่านั้นหรือไม่อีก ผมมองว่าถ้าซัมซุงใจกว้างส่งโค้ดส่วนนี้กลับโครงการแอนดรอยด์ แล้วทำให้เครื่องทุกรุ่นที่มี NFC ทำงานร่วมกันได้ทั้งหมด จะเพิ่มอรรถประโยชน์ของเทคโนโลยีนี้มาก และซัมซุงเองก็ได้ภาพในแง่ของความเป็นผู้นำในการสร้างเทคโนโลยีไป
ฟีเจอร์อื่นๆ ที่เป็นซอฟต์แวร์นั้นดูจะขึ้นอยู่กับการใช้งานของแต่ละคนมาก เช่น Smart Alert ที่สั่นเมื่อเครื่องขยับ ผมเองคงอยากได้ไฟกระพริบมากกว่า, หรือ Direct Call ที่สั่งโทรได้ด้วยการเอาเครื่องแนบหูขณะอยู่ที่หน้าจอ SMS ตัวผมเองชอบกดโทรแล้วมองหน้าจอว่าโทรถูกคน และการยกหูขึ้นมาถือค้างไว้รอเซ็นเซอร์ทำงานและจึงรอสายต่อติดคงไม่ใช่ท่าที่เหมาะกับผมเท่าใหร่

กล้อง

ใน Galaxy S III จุดขายสำคัญอีกอย่างหนึ่งคือกล้องที่พัฒนาขึ้นค่อนข้างมากทั้งด้านความเร็วและคุณภาพ เมื่อรวมกับหน้าจอ Super AMOLED ที่ให้สีสดแล้วมันจะเป็นจุดขายสำคัญของ S III ทีเดียว
ฟีเจอร์หนึ่งที่ซัมซุงพูดถึงบ่อยคือ Best shot เป็นการถ่ายรัวเป็นชุดโดยอาศัยความเร็วของกล้องแล้วซอฟต์แวร์ภายในจะเลือกภาพที่ดีที่สุดมาให้ ผมยังไม่แน่ใจว่าเงื่อนไขการเลือกภาพที่ดีของซอฟต์แวร์คืออะไร แต่ฟีเจอร์นี้ก็มีประโยชน์จริงเพราะอย่างน้อยที่สุดการเลือกรูปเองก็ทำได้ง่ายมาก ถ้าเป็นภาพถ่ายคนโดยเฉพาะภาพหมู่เราอาจจะเปิดโหมดนี้ค้างไว้แล้วเอามาเลือกรูปกันเองหลังถ่ายก็ยังสะดวก
ความเร็วของการถ่ายแลกมากับการ "ไม่รอ" โฟกัสก่อนจะถ่ายภาพทำให้ตัวกล้องแตะแล้วจะถ่ายทันทีทุกครั้ง ผมเองชอบแนวทางนี้มากกว่าการกดถ่ายภาพแล้วพบว่ากล้องโฟกัสไปมาอีกสองวินาทีอย่างไรก็ดีคนที่ไม่ชินแรกๆ อาจจะทำภาพเสียได้มากเพราะไม่ทันรู้ว่าต้องรอให้กล้องยืนยันโฟกัสก่อนจึงควรกดถ่าย

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น